วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง



น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง
      และแม่เกิ๋งน้อย เป็นน้ำตกที่สวยงามไหลลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ มี 7 ชั้นคล้ายขั้นบันไดลงมาจากดอยแม่เกิ๋งคำว่า แม่เกิ๋งเป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง ขั้นบันไดน้ำตกแม่เกิ๋งหลวง ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 1 กิโลเมตร ส่วนน้ำตกแม่เกิ๋งน้อยต้องเดินเท้าจากที่ทำการฯ ไปประมาณ 2 กิโลเมตร น้ำตกทั้งสองสายนี้จะไหลลงสู่แม่น้ำยมที่บ้านสบเกิ๋ง อำเภอวังชิ้น นอกจากนี้ยังมีน้ำตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่สิน น้ำตกแม่จอก น้ำตกแม่ป้าก น้ำตกแม่รัง น้ำตกขุนห้วย

อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย



อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย
     เป็นอุทยานแห่งชาติ แห่งแรกของจังหวัดแพร่ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่ อำเภอลอง อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอำเภอเถิน อำเภอสบปราบ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง มีสภาพป่าภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทิวทัศน์และน้ำตกสวยงามหลายแห่ง เช่น น้ำตกแม่เกิ๋งหลวง น้ำตกแม่ เกิ๋งน้อย และมีบ่อน้ำแร่แม่จอก ซึ่งเป็นบ่อน้ำร้อน ทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เนื้อที่ประมาณ 410 ตารางกิโลเมตร หรือ 256,250 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งให้เป็น "อุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2524

อุทยานแห่งชาติแม่ยม


     
ตั้งอยู่ในพื้นที่ครอบคลุมของอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอสอง จังหวัดแพร่ มีพื้นที่ประมาณ 284,218.75 ไร่ หรือ 454.75 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงทั้งด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดมายังแม่น้ำยมที่ ไหลผ่านตอนกลางของพื้นที่ มีเทือกเขาอย่างดอยหลวง ดอยยาว ดอยขุนห้วยแปะ และดอยโตน เป็นต้น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำและลำห้วย อย่างเช่น น้ำแม่ปุง น้ำแม่ลำ น้ำแม่เต้น น้ำแม่สะกึ๋น น้ำแม่เป๋า ห้วยผาลาด ห้วยแม่ปง ห้วยแม่พุง ห้วยแม่แปง ห้วยเค็ด ห้วยปุย ห้วยเลิม และห้วยแม่ปุ๊ เป็นต้น
ทางด้านทิศเหนือไปทิศใต้ เป็นบริเวณที่ราบลาดเอียง ระดับความสูงประมาณ 180 เมตรจากระดับน้ำทะเล บริเวณอำเภอสอง แล้วลดความสูงมาเป็น 157 เมตร ส่วนทางด้านแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกนั้น มีพื้นที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำยมทั้งสองด้าน ดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วนปนทราย ชนิดหินเป็นหินชั้นและหินเชล
      กรมป่าไม้ได้ นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นสมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 23 มกราคม 2527 โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติแม่ปุงต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น อุทยานแห่งชาติแม่ยม โดยกำหนดพื้นที่บริเวณที่ดินป่าแม่ปุง ป่าแม่เป้าและป่าแม่สอง ในท้องที่ตำบลเตาปูน ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ และป่าแม่งาวฝั่งซ้าย ในท้องที่ตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2529 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 51 ของประเทศ
จาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดพระธาตุพระลอ



วัดพระธาตุพระลอ
       ตั้ง อยู่ที่บ้านพระลอ ตำบลบ้านกลาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอสอง ๔ กิโลเมตร เป็นโบราณสถานที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับเวียงสรอง เมืองโบราณที่กล่าวถึงวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ และเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอสอง ภายในวัดมีรูปปั้นของ พระลอ พระเพื่อน พระแพง พระธาตุพระลอ 
      พระธาตุพระลอ   เป็นโบราณสถานที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับเวียงสอง เมืองโบราณที่กล่าวถึงวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ และเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอสอง ภายในวัดมีรูปปั้นของพระลอ พระเพื่อน พระแพง ประวัติความเป็นมา เดิมวัดพระธาตุพระลอนี้เดิมเรียก ธาตุหินส้ม เพราะแต่เดิมก่อนที่จะสร้างพระธาตุนั้นพบว่้ามีซากอิฐและหินกองใหญ่อยู่ หินนี้มีลักษณะเป็นหินส้ม แต่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น พระธาตุพระลอ การก่อสร้างสันนิฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากมีการขุดพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น ดาบ และพระพุทธรูป ซึ่งเป็น ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย หล่อด้วยตะกั่ว รูปแบบเจดีย์เป็นทรงลังกา พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุึงคามสีมา พ.ศ. 2521จังหวัดให้สร้างอนุสาวรีย์พระลอ พระเพื่อนพระแพงขึ้นในบริเวณวัด เป็นรูปปั้นของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ที่ถูกทหารยิงด้วยธนูจนสิ้นพระชนม์ ประเพณีการนมัสการพระธาตุพระลอกำหนดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เหนือของทุกปี พระธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1154 กม.ที่ 54 ห่างจากอำเภอสอง ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน-พระแพง แห่งเมืองสรอง

น้ำตกห้วยโรง



น้ำตกห้วยโรง
        อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางเหนือ 60 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 101 (ถนนแพร่-ร้องกวาง) ถึงกม.ที่ 78 เลี้ยวซ้ายอีก 4 กม. เป็นน้ำตกที่มีความสูง  2 ชั้น สภาพโดยรอบเป็นป่าโปร่งร่มรื่น

ถ้ำผานางคอย



ถ้ำผานางคอย
        เป็นถ้ำสวยงามอยู่ที่ บ้านผาหมู อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปากถ้ำอยู่ภูเขาสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เมตร มีบันไดไต่เลียบเลี้ยววกขึ้นไปจนสุดทาง บันไดเป็นดินและหิน มีลานกว้างเป็นที่นั่งพัก ก่อนจะเข้าสู่ถ้ำด้านขวามือเป็นซอกเขา มีทางขึ้นไปไม่สูง ข้างบนมีลานหินเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นั่ง เรียกกันว่า ลานนางคอย นอกจากนี้ เมื่อเข้าไปกลางถ้ำจะพบกับ หินงอกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะคล้ายผู้หญิงอุ้มลูก จึงได้ชื่อว่า ผานางคอย และ ภายในถ้ำแห่งนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปให้คนที่เข้ามาในถ้ำแห่งนี้ได้นมัสการ อีกด้วย
      ตำนาน ถ้ำผานางคอยนั้น มีการเล่ามาหลายตำนานอยู่เหมือนกัน แต่ตำนานหนึ่งที่มีคนกล่าวขานถึงมากที่สุด มีความว่า เมื่อสมัยที่อาณาจักรแสนหวียังเจริญรุ่งเรือง เจ้าผู้ครองนครมีราชธิดาผู้สิริโฉมงดงามมาก นามว่านางอรัญญนี วันหนึ่งนางเสด็จประพาสโดยเรือพระที่นั่งเกิดมีพายุใหญ่พัดกระหน่ำมา ทำให้เรือพระที่นั่งพลิกคว่ำนางอรัญญนีพลัดตกลงในน้ำ ฝีพายหนุ่มคนหนึ่งได้กระโดลงไปช่วยชีวิตนางไว้ได้
     ตั้งแต่นั้นมา ทั้งสอง ได้แอบติดต่อกัน โดยปิดบังไม่ให้พระราชบิดาของนางล่วงรู้ จนนางอรัญญนีตั้งครรภ์ขึ้น  พระราชบิดาของนางกริ้วมาก สั่งให้ทำโทษนางและกักขังไว้ แต่ ฝีพายหนุ่มซึ่งเป็นคนรักของนาง ได้แอบเข้าไปหานางถึงในที่คุมขังและพานางหลบหนีออกมา
     เมื่อเจ้าครองนครได้ทราบเรื่องที่ ฝีพาย พาธิดาของพระองค์หนีออกจากที่คุมขัง จึงได้ให้ทหารติดตามทั้งสองไป เมื่อทหารขี่ม้าเข้าใกล้ทั้งสอง จึงได้ยิงธนู หมายจะเอาชีวิตของฝีพาย แต่ลูกธนูพลาดไปโดน ธิดาของเจ้าครองนคร
ทั้งคู่ จึงได้หลบหนีเข้าไปในถ้ำแห่งหนึ่ง โดย ฝ่ายหญิงนั้น รู้ตัวดีว่าบาดเจ็บสาหัสมาก คงจะไม่รอดเป็นแน่ จึงขอร้องให้ฝีพาย หนีไป โดยนางสัญญาว่า จะรออยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ตลอดไป ฝีพายหนุ่มจึงจำใจหนีออกไปแต่เพียงผู้เดียว  ซึ่งนางได้ดูคนรักของนางหนีออกไปจนลับสายตา และเสียชีวิต ณ ถ้ำแห่งนั้น
     โดย ลานที่นางนั่งดูสามีหนีออกจากถ้ำไป ต่อมาเรียกว่า ลานนางคอย ส่วนถ้ำแห่งนั้นก็ได้ชื่อว่า ถ้ำผานางคอย ซึ่งในปัจจุบัน มีการสร้างรูปปั้น อนุสาวรีย์เป็นรุป นางอรัญญาณี กับ ฝีพายหนุ่ม ในขณะที่ขี่ม้า หลบหนีจากที่กุมขัง ตามตำนานที่กล่าวมาแล้ว