วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์



อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์
 ประวัติ
        พระยาไชยบูรณ์ เดิมชื่อ ทองอยู่ นามสกุล สุวรรณบาตร เป็นบุตรของพระยาศรีเทศบาล และคุณหญิงกมลจิตร เกิดที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2445 มีน้องชายร่วมสายโลหิต 1 คน อายุ 21 ปี รับราชการครั้งแรกเป็นเสมียนอยู่ที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์อายุ 43 ปีได้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร อยู่ได้ 2 ปี ย้ายไปเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดที่จังหวัดพิษณุโลก และย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ใน พ.ศ.2440 ในขณะนั้นมีเจ้าเมืองปกครองเมืองแพร่คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ทำการปกครองร่วมกันระหว่างข้าหลวงกับเจ้าเมือง ใน พ.ศ.2443 ได้เลื่อนยศเป็นพระยาไชยบูรณ์
พระยาไชยบูรณ์ ได้ต่อสู้กับพวกโจรเงี้ยวที่บุกเข้าปล้นเมืองแพร่ในเช้าตรู่ของวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2445 พวกโจรเงี้ยวมีพะกาหม่องเป็นหัวหน้าได้รวบรวมสมัครพรรคพวกที่มาจาก เชียงตุงและพวกเงี้ยวที่อาศัยอยู่ในเมืองแพร่ บุกเข้าปล้นสถานีตำรวจภูธรแย่งชิงเอาอาวุธไปแล้ว เข้าเมืองด้านประตูชัยปล้นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ต่อจากนั้นตรงไปยังบ้านพักของพระยา ไชยบูรณ์ใช้ปืนยิงเข้าไป พระยาไชยบูรณ์หลบหนีออกไปได้แล้วไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านร่องกาศ ได้ ส่งคนไปขอกำลังจากชาวบ้านมาช่วย แต่พวกเงี้ยวมีอาวุธครบมือมากกว่าจึงสู้ไม่ได้ ในที่สุดถูกพวก เงี้ยวจับตัวได้และไม่ยอมมอบเมืองแพร่ให้แก่พวกเงี้ยวจึงถูกพวกเงี้ยวฆ่าตาย ในที่สุด
           อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดแพร่ ประมาณ 4 กม. ริมทางหลวงแผ่นดินสาย 101 พระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงเมืองแพร่ รับราชการระหว่าง พ.ศ.2440-2445 ในปีพ.ศ.2445 พวกเงี้ยวในเมืองแพร่ก่อการกบฏ ท่านถูกพวกเงี้ยวฆ่าตายเนื่องจากไม่ยอมลงนามยกเมืองแพร่ให้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ส่งกองทหารมาปราบพวกเงี้ยว แล้วสร้างอนุสาวรีย์ให้กับพระยาไชยบูรณ์เป็นอนุสรณ์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาราชฤทธานนท์พหลพลภักดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น